หลักสูตร ของ คณะมนุษยศาสตร์ และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดสอน 8 สาขาวิชา ใน 6 ภาควิชา ได้แก่


หน่วยงานระดับปริญญาตรี
ภาควิชาภาษาอังกฤษศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (English)
ภาควิชาภาษาไทยศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)
  • สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai for Communication)
ภาควิชาการจัดการท่องเที่ยวศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)
  • สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว (Tourism Management)
ภาควิชาการจัดการการโรงแรมศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)
  • สาขาวิชาการจัดการการโรงแรม (Hotel Management)
ภาควิชาการจัดการธุรกิจสายการบินศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน (Airline Business Management)
ภาควิชาภาษาตะวันออกและเอเชียศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)
  • สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวและโรงแรม (Chinese for Tourism and Hospitality)
  • สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อธุรกิจระหว่างประเทศ (Chinese for International Business)


สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (English)

เปิดสอนสาขาวิชา สาขาวิชาภาษาอังกฤษ เนื่องด้วยตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้านของสังคม จึงมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางภาษาอังกฤษอย่างลึกซึ้ง ทั้งด้านภาษาศาสตร์และวรรณคดี โดยเชี่ยวชาญในทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ให้ได้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา อีกทั้งมีความพร้อมที่ศึกษาต่อในระดับที่สูงยิ่งขึ้นไป

ภาควิชาภาษาอังกฤษจัดหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-Centered Design) เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนโดยรวม ทั้งทางด้านเชาวน์ปัญญา (IQ) และเชาวน์อารมณ์ (EQ) โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเองจากประสบการณ์จริง และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทเรียน โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นในการสื่อสาร ผ่านสื่อการเรียนการสอนต่างๆ อาทิ คอมพิวเตอร์ และห้องปฏิบัติการทางภาษา


สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai for Communication)

เป็นการศึกษาภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารงานธุรกิจ งานสื่อสารมวลชน รวมถึงลีลาการใช้ภาษาไทยในแง่มุมต่างๆ โดยสามารถประยุกต์ใช้ในโอกาสต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

ในการศึกษาด้านภาษาศาสตร์ มุ่งฝึกฝนทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนให้มีประสิทธิภาพในมิติต่าง ๆ อาทิ การใช้ภาษาไทยในสื่อมวลชน การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ การเขียนเพื่อธุรกิจ ฯลฯ ส่วนการศึกษาด้านวรรณกรรม ศึกษาวรรณกรรมไทยสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง การศึกษาทั้ง 2 ด้านนี้เป็นพื้นฐานสำหรับการประกอบอาชีพ และศึกษาทางด้านภาษาไทยในระดับสูงต่อไป


สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว (Tourism Management)

มุ่งเน้นพัฒนานักศึกษาให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและเป็นมืออาชีพในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จึงนำวิทยาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อเสริมทักษะและประสบการณ์ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิชาต่างๆ ที่เปิดสอนมีเนื้อหาครอบคลุมความรู้ทางด้านการบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยวทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ อีกทั้งนักศึกษาจะได้มีโอกาสทัศนศึกษานอกสถานที่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเข้าร่วมกิจกรรมหรือโครงการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว นอกจากนี้สาขาวิชายังมีความสัมพันธ์อันดีกับธุรกิจและองค์กรที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างประเทศ เพื่ออำนวยประโยชน์แก่นักศึกษาในการแสวงหาประสบการณ์จากการฝึกงานและโอกาสในการศึกษาต่อต่างประเทศ


สาขาวิชาการจัดการการโรงแรม (Hotel Management)

มุ่งเน้นที่จะพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะภาษาต่างประเทศและเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงแรม สาขาวิชาได้นำเทคโนโลยีและวิทยาการที่ทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอนซึ่งพร้อมด้วยห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการส่วนหน้าของโรงแรม ห้องพักมาตรฐานและห้องชุด ภัตตาคาร คอฟฟี่ชอป ห้องครัว เพื่อเสริมทักษะและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเฉพาะสาขาแก่นักศึกษา นอกจากนี้สาขาวิชาได้จัดโครงการพิเศษเพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในต่างประเทศสำหรับนักศึกษาที่สนใจ เช่น โครงการทัศนศึกษาและดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ และโครงการศึกษาภาษาและฝึกงานต่างประเทศ


สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน (Airline Business Management)

มุ่งเน้นผลิตนักศึกษาให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญ เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ สนองตอบความต้องการของธุรกิจสายการบินและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยนำวิทยาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อเสริมทักษะและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานภายหลังจบการศึกษา หลักสูตรให้ความสำคัญกับการเรียนทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ วิชาต่างๆ มีเนื้อหาครอบคลุมความรู้เกี่ยวกับการจัดการธุรกิจสายการบินในด้านต่างๆ เช่น การบริการผู้โดยสาร การจัดการตลาด การขนส่งสินค้า การบริหารท่าอากาศยาน เทคโนโลยีและทักษะภาษาต่างประเทศ ภาควิชาจัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และห้องปฏิบัติการจำลองสถานที่ทำงานของพนักงานสายการบินเพื่อฝึกทักษะการปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆ เช่น การบริการผู้โดยสารบนเครื่องบิน การบริการผู้โดยสารภาคพื้น การสำรองที่นั่ง การคิดราคาและการออกบัตรโดยสาร นอกจากนี้ ภาควิชายังมีความสัมพันธ์อันดีกับธุรกิจสายการบินและธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้นักศึกษานำความรู้จากการเรียนไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริงระหว่างการฝึกงาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมืออาชีพ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fan Page : http://www.facebook.com/HumanAirlineBU

สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวและการโรงแรม (Chinese for Tourism and Hospitality)

มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาจีน ทั้งทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน อันเป็นการตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่มีนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนหรือผู้ที่ใช้ภาษาจีน เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเป็นจำนวนมากในระยะหลัง นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจในธุรกิจการท่องเที่ยวและการโรงแรม เพื่อประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป


สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อธุรกิจระหว่างประเทศ (Chinese for International Business)

เป็นหลักสูตรสหวิทยาการที่บูรณาการความรู้และทักษะภาษาจีนทั้งในด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ให้เข้ากับทฤษฎีและความรู้ในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ รวมถึงการศึกษาดูงานในประเทศจีน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรอบรู้ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ตรงทางการทำธุรกิจระหว่างประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อ หรือการทำธุรกิจกับชาวจีนทั้งที่อยู่ในประเทศไทย ในประเทศจีน และในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ใกล้เคียง

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะมนุษยศาสตร์ และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม